วันพฤหัสบดีที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ISUZU RT-50 NEW VS CHEVROLET COLORADO GMI700


I opened it. I took a look at it. If someone posts, then I apologize.
ที่มาhttp://bbznet.pukpik.com/scripts2/vi...order=numtopic
 Attached Images 


 ;D ;D  :o :o  ท่านใดชอบรถมาดูกันครับรถกระบะ Chevrolet Colorado GMI700  

 
Thanks: Ro  ฝากรูป

Thanks: Ro  ฝากรูป

Thanks: Ro  ฝากรูป

Thanks: Ro  ฝากรูป
나는 그것을 열었습니다. 나는 그것을보고했다. 누군가가 게시물 제가 사과를드립니다.
http://bbznet.pukpik.com/scripts2/vi...order=numtopic.

  첨부된 이미지.



        당신은 픽업 트럭 시보레 콜로라도 GMI700 표시되지 않습니다.


감사합니다 : 비디오로 ....

감사합니다 : 비디오로 ....

감사합니다 : 비디오로 ....

감사합니다 : 비디오로 ....
私はそれを開けた私はそれを見ていた誰か投稿の場合は、私はお詫び申し上げます
http://bbznet.pukpik.com/scripts2/vi...order=numtopic

 添付された画像



       あなたは、ピックアップトラックのシボレーコロラドGMI700が表示されません


感謝Roのビデオ

感謝Roのビデオ

感謝Roのビデオ

感謝Roのビデオ

나는그것을열었습니다 나는그것을보고했다 누군가가게시물면제가사과를드립니다
http://bbznet.pukpik.com/scripts2/vi...order=numtopic

ทดสอบชัด MITSUBISHI TRITON CNG


ทดสอบชัด   MITSUBISHI TRITON CNG
รถปิกอัพ 2 พลังงาน เบนซิน & แก๊ส (NGV)

    รถปิกอัพทรงเฉียบ เพิ่มทางเลือกใหม่ตรงตามกระแสโลกและความต้องการของผู้บริโภคที่ใครๆ ก็ต้องการความประหยัด ไทรทัน ซีเอ็นจี ประหยัดเชื้อเพลิงและใส่ใจเรื่องมลพิษ ติดตั้งระบบแก๊สเอ็นจีวีมาตรฐานโรงงาน ราคาสวยและประหยัดแน่ เคยจ่ายค่า
น้ำมันเดือนเท่าไร ลดเหลือต้องจ่ายแค่ 1 ใน 3 หลายคนสงสัยว่า...ขับดีไหม เร่งอืดไหม ติดแก๊สมาตรฐานไหม กม.ละกี่บาท 1 ถังวิ่งได้เท่าไหร่ เติมยุ่งไหม บรรทุกพอได้หรือเปล่า ขึ้นวัดแรงม้า วัดความสิ้นเปลืองกันชัดเจน ใช้งานจริง !
          มิตซูบิชิ เปิดตัวรถปิกอัพใหม่ เสริมไลน์ของรุ่นไทรทัน ที่ได้รับความนิยมอย่าง
ต่อเนื่อง ด้วยความคงตัวในหลายด้าย โดยเฉพาะรูปลักษณ์ที่ฮือฮาตั้งแต่ช่วงเปิดตัวว่า
มิตซุบิชิใจกล้า ฉีกจนถือว่าแหวกแนวกับเส้นสายในการออกแบบทั้งภายนอกและภายใน ไม่ทิ้งลายสิงห์แรลลีโลกและการแข่งขันระดับโลกอย่างปาเจโรและแลนเซอร์ อีโวลูชัน ไทรทัน เป็นรถปิกอัพรุ่นหลักของมิตซูบิชิ มีครบตัวถัง ทั้งตอนเดียว ตอนครึ่งมีแค็บและ 
2 ตอน 4 ประตู ในช่วงต้นปี 2010 เปิดตัวรุ่นใหม่ของสายพันธ์ชูจุดเด่นด้านพลังงานทางเลือก ไทรทัน 
ซีเอ็นจี นับเป็นรถปิกอัพรุ่นแรกของไทยที่ใช้ได้ทั้งน้ำมันเบนซิน แก๊สโซฮอล์สูงถึงอี20 
และซีเอ็นจี ซึ่งผลิตจากโรงงาน นอกนั้นที่เคยมีล้วนติดตั้งเพิ่มเติมเองหรือใช้ได้เชื้อเพลิงเดียว สวยเฉียบด้วยรูปลักษณ์ ไทรทัน ไมเนอร์เชนจ์โฉมล่าสุด มาพร้อม 2 ทางเลือกของ
ตัวถัง ตอนเดียวสำหรับเน้นบรรทุก และตอนครึ่ง เพิ่มความอเนกประสงค์ บรรทุกได้ไม่น้อย 
แต่ห้องโดยสารเพิ่มพื้นที่ส่วนแค็บ พร้อมใช้งานสลับกัน 2 เชื้อเพลิง ใช้น้ำมันเบนซิน
ได้ถึงแก๊สโซฮอล์ อี20 สนับสนุนเกษตรกร และซีเอ็นจี (เอ็นจีวี) ที่ภาครัฐสนับสนุนและตรึงราคาไว้
          ผู้ใช้สะดวกเติมและเลือกใช้ได้ 
2 เชื้อเพลิงอย่างสะดวก ไม่ได้ใช้
แก๊สล้วน แนบเนียนด้วยพื้นปูกระบะ พร้อมที่ครอบถัง มั่นใจในมาตรฐานและความปลอดภัย ด้วยการรับประกันคุณภาพ 100,000 กม. หรือ 3 ปี เหมือนรถทั่วไป ราคาเพิ่มขึ้นจากรุ่น
ตัวถังและมาตรฐานเดียวกันประมาณ 65,000 บาท นับว่าคุ้มค่า เพราะถ้าซื้อรถมาติดตั้งซีเอ็นจีระบบหัวฉีด
ภายหลังเอง ก็ต้องเสียเงินประมาณนี้ แต่ต้องตัด-เจาะกันเยอะ มาตรฐานต่างกันอย่างสิ้นเชิง และที่สำคัญกับการรับประกันคุณภาพจากโรงงาน
จะสิ้นสุดทันที
          ไทรทัน ซีเอ็นจี นับเป็นรถปิกอัพในตลาดที่สามารถใช้ทั้งแก๊สสลับกับน้ำมันได้ โดยได้รับการติดตั้งตามมาตรฐานโรงงาน เตรียมชิ้นส่วนไว้รองรับตั้งแต่เริ่มต้นอย่างลงตัว ก่อนเปิดตัวรุ่นซีเอ็นจี ประกอบกับกระแสราคาน้ำมันเบนซินช่วงเปิดตัวอยู่ระดับลิตรละ 30 บาท แต่เอ็นจีวีถูกตรึงไว้ที่กิโลกรัมละ 8.5 บาท ประหยัดแน่ๆ จ่ายค่าเชื้อเพลิงน้อยลงกว่าครึ่งแน่ ไม่ว่าจะเทียบกับรถปิกอัพเครื่องยนต์เบนซินหรือดีเซล
ก็มีคำถามหลากหลายในสังคมวงกว้าง...
          เครื่องแค่ 2,400 ซีซี จะแรงพอรึเปล่า จะอืดไหม, ใช้งานจริงจะกินแก๊สกิโลเมตรละกี่บาท, 1 ถังวิ่งได้ไกลแค่ไหน, การติดตั้งได้มาตรฐานและ
แนบเนียนแค่ไหน, เหลือพื้นที่บรรทุกเท่าไร, มีถังใบโตอยู่ช่วงกลาง 
การทรงตัวจะเป็นอย่างไร และอีกสารพัดความสงสัยในมิตซูบิชิ ไทรทัน 
ซีเอ็นจี ถึงความคุ้มค่าในด้านต่างๆ
          THAIDRiVER ทดสอบเพื่อพิสูจน์และนำเสนอในหลายแง่มุมที่สงสัยกันในรถรุ่นนี้ ทำเป็นวิทยาศาสตร์ วิจารณ์ด้วยความรู้-ความเข้าใจเรื่องแก๊สอย่างถ่องแท้ ขึ้นวัดแรงม้าแสดงผลเป็นกราฟและตัวเลขอย่างชัดเจน
ชื่อรุ่น เป็นสากล CNG ไม่ใช่ NGV
          ทั่วโลกเรียกแก๊สธรรมชาติอัดว่า CNG COMPRESSED NATURAL GAS มีประเทศไทย มาเลเซีย และไม่กี่ประเทศในโลกเรียกว่า NGV-NATURAL GAS for VEHICLE = แก๊สธรรมชาติเพื่อยานยนต์ จะด้วยคนตั้งชื่อเพราะอยากเลี่ยงคำว่าบีบอัดด้วยแรงดัน หรืออะไรก็ตาม ก็ทำให้คนไทยมักเรียกเชื้อเพลิงชนิดนี้ว่า NGV นอกจากนี้ยังมีเรื่องแปลกของคำว่า GAS ทั้งเอ็นจีวีและแอลพีจี (LIQUEFIED PETROLIUM GAS) GAS เป็น GAS เป็นเชื้อเพลิงชนิดมีสถานะในเริ่มต้นเป็นไอ แต่ต่างชนิดกันเกือบจะโดยสิ้นเชิง สะกดภาษาอังกฤษว่า G-A-S เหมือนกัน แต่คนไทยโดยเฉพาะผู้ขับแท็กซี่มักเรียกด้วยภาษาไทยแตกต่างกัน แอลพีจีเรียกว่าแก๊ส สระแอ ส่วนเอ็นจีวีเรียกว่าก๊าซ เมื่อเปิดพจนานุกรมอ่านดูพบว่า ถ้าสะกดภาษาอังกฤษว่า GAS อ่านได้ทั้ง 2 แบบ แก๊สและก๊าซ แต่ดูเหมือนว่าแก๊สจะเป็นคำหลักมากกว่า ดังนั้นในบทความนี้ผมไม่ได้มั่วครับ แม้เอ็นจีวีจะถูกหลายคนเรียกด้วยสระ-อา 
ว่าก๊าซหรือก๊าซธรรมชาติ แต่เรียกว่า แก๊สก็ได้ เพราะในชื่อ NGV ตัว G นั้นย่อมาจากคำว่า GAS
          ความสะดวกในการเติมเอ็นจีวี เป็นเรื่องที่ร่ำลือกันทั้งถูกและผิด
มานาน สืบเนื่องมาจากปั๊มแก๊สในช่วงแรกย่อมมีน้อย และขยายเพิ่มจำนวนอย่างช้าๆ ตามจำนวนรถและความแพงของการลงทุนระดับ 
10 กว่าล้านบาท ทำให้เกิดความเข้าใจในวงกว้างว่าเติมเอ็นจีวียาก
เพราะปั๊มน้อย และรอนาน ในความเป็นจริงปัจจุบันนี้ ปั๊มมีจำนวนมากขึ้น และเมื่อนำมาหาร
กับจำนวนรถที่ใช้เอ็นจีวีแล้ว ต้องถือว่าดี ไม่แออัด ปั๊มพอ ส่วนเวลาในการเติมต่อครั้งหลังจากเสียบหัวจ่าย ต้องบอกใบ้ไว้ว่า สำหรับคนที่ไม่ได้ใช้รถติดเอ็นจีวี ต้องไม่เชื่อว่าบางครั้งเร็วกว่าเติมน้ำมันก็ยังมี ! ในการทดสอบมีการเติมแก๊ส 2 ครั้งเต็มถัง ครั้งแรกรอคิว 2 คัน ไม่กี่นาทีเสร็จ ครั้งที่ 2 รอ 3-4 คันรวมเติมประมาณ 5-6 นาที
          มิตซูบิชิ เป็นบริษัทรถระดับโลก คงต้องการให้ชื่อรุ่นรถเป็นสากล 
จึงตั้งชื่อต่อท้ายไทรทันว่า ซีเอ็นจี ไม่ใช่เอ็นจีวี ใครๆ ก็อย่า งง! ว่าคืออะไร เพราะอธิบายไปข้างต้นแล้ว ผมก็ว่าชื่อรุ่นซีเอ็นจี ถูกต้องและดูสากล
กว่าการตั้งเป็น..เอ็นจีวี
ภายนอก ดูเรียบร้อย
          มิตซูบิชิตั้งใจติดตั้งถังแก๊สแบบมาตรฐานสูง ไทป์ 2 ซึ่งเป็นถังเหล็ก
ทั้งใบ แต่เบากว่าไทป์ 1 เพราะมีส่วนทรงกระบอกหรือเอวบาง พันรอบไว้ให้แข็งแรงด้วยเส้นใยไฟเบอร์กลาส ติดตั้งถังไว้บนตัวกระบะ 
เพราะปลอดภัยจากการกระแทกด้านล่างและสามารถเลือกใช้ถังขนาดใหญ่ได้ จะได้ไม่ต้องเติมบ่อย เพราะเอ็นจีวีมีระยะทางต่อถังสั้น ดังนั้นใช้ถังใหญ่
ไว้ก่อนได้เปรียบ ติดตั้งถังแนวขวางชิดกับตัวกระบะด้านใน รุ่นซิงเกิลแค็บใช้ถังขนาด 120 ลิตรน้ำ รุ่นเมกะแค็บ 100 ลิตรน้ำ ทั้ง 2 รุ่นมีพิกัดการเดินทางประมาณ 150-200 กม. ขึ้นกับสภาพการจราจร การขับและการบรรทุก
          ความสวยงามและกลมกลืน คือ ฝาครอบชิ้นใหญ่พลาสติกคุณภาพดีเนื้อนิ่มสีดำเป็นชุดเดียวกับที่ปิดทับพื้น ซุ้มล้อที่นูนขึ้นมา และขอบไล่ขึ้นมาจนถึงขอบกระบะ และฝาปิดกระบะก็มีชุดพลาสติกปิดทับด้านใน 
ต้องยอมรับกับความตั้งใจในการออกแบบและผลิตชุดพลาสติกครอบถัง และพื้นกระบะเป็นชิ้นใหญ่ไล่แนวสอดรับกัน เมื่อปิดครอบถังแก๊สแล้วดูดีและมีพื้นที่บรรทุกอีกไม่น้อย ถังและฝาครอบกินพื้นที่ออกมาประมาณแค่เกือบ 2 ฟุต อย่าเพิ่งรีบติติงว่าเหลือพื้นที่บรรทุกน้อย เพราะโลกนี้ได้อย่างก็เสียอย่าง แต่นี่ยอมเสียนิดเดียว-อย่างเดียว แต่ได้มาทั้งความประหยัด การช่วยลดการนำเข้าน้ำมันดิบ และลดการปล่อยมลพิษ รุ่นเมกกะแค็บ ตัวกระบะหลังมีพื้นที่บรรทุกเหลือกว้าง 146 ซม. ยาว 121 ซม.
          เมื่อต้องเซอร์วิสหรือจะเปิดดูชุดหัววาล์ว ก็มีฝาครอบยางขนาดประมาณฝ่ามือ ไม่ต้องใช้เครื่องมือในการเปิด-ปิด ภายในมองเห็นหัววาล์วที่ถัง ซึ่งพิเศษตรงที่หัววาล์วเป็นแบบมีโซลินอยด์เปิด-ปิดการจ่ายแก๊สด้วยไฟฟ้า เมื่อไรเครื่องดับ โซลินอยด์วาล์วจะปิดตัวสนิท เมื่อไล่ดูขายึดถังที่อยู่ภายในฝาครอบ ก็พบว่าแข็งแรงและเรียบร้อย สมกับการติดตั้งระดับโรงงาน รถติดตั้งเอ็นจีวีเกินกว่า 80 เปอร์เซ็นต์ ลองไปดูที่หัวถังมักไม่มี
โซลินอยด์วาล์วไฟฟ้า (หรือเรียกแบบง่ายๆ ว่า... ติ๊กแก๊ส เพราะเมื่อเปิด-เปิดจะมีเสียงติ๊ก)
ภายใน เท่ตามสไตล์มิตซู-อีโว
          ความสปอร์ตไม่เคยจางในรถทุกรุ่นของยี่ห้อนี้ เป็นไปตามมาตรฐานของไทรทัน และแม้จะเล่นสันแนวของรูปลักษณ์ภายนอก กระจกและ
ชิ้นส่วนภายใน แต่ไม่ได้ทำให้ความกว้างขวางลดลงเลย เมื่อรวมกับการออกแบบที่ผสานความสปอร์ตไว้ ต้องบอกว่าเป็นรถปิกอัพที่มีภายในห้องโดยสารดูดี-ไม่เชย-ไม่อนุรักษ์นิยม ไม่ต้องอธิบายมาก เพราะแตกต่างหลักๆ แค่สวิทช์เลือกเปลี่ยนใช้น้ำมันหรือแก๊ส ที่อยู่ในตำแหน่งสะดวกต่อการกดใช้งาน และเล็งๆ ดูก็พบว่าติดตั้งแนบเนียนตามมาตรฐานโรงงาน ไม่ได้ติดสวิทช์ลอยๆ ดูเกินๆ แบบรถที่ติดตั้งแก๊สในภายหลัง-นอกโรงงาน
ห้องเครื่องยนต์ เรียบร้อย และบ่งบอกว่าเตรียมพร้อมสำหรับติดแก๊สจริง
          รถหลายรุ่นในหลายยี่ห้อติดแก๊สในภายหลัง เป็นโปรเจ็กต์พิเศษเพื่อกระตุ้นตลาด สำหรับไทรทันมีการพัฒนาและเปลี่ยนแปลงพื้นฐานของเครื่องยนต์พร้อมส่วนต่างๆ ให้รองรับการเพิ่มมาใช้เอ็นจีวี พิสูจน์ได้ชัดเจนว่าใช่ ! แบบไม่ต้องรื้อดู นอกจากขายึดตัวลดแรงดันและหัวเติม
ที่ปั๊มขึ้นรูปแบบอุตสาหกรรม ที่ไม่ได้ตัดเชื่อมแบบอู่ติดแก๊สทั่วไป ก็พอเข้าเค้า แต่ท่อร่วมไอดีอลูมิเนียมที่มีเนินอลูมิเนียมเล็กๆ สำหรับฝังน็อตซิลรูจ่ายแก๊สใน 4 รันเนอร์ของท่อร่วมไอดี เพราะเคยเห็นท่อร่วมไอดีของไทรทันรุ่น เบนซินเพียวๆ ไม่มีเนินนี้ที่ท่อร่วมไอดี ทั้งหมดก็พออนุมานได้ว่ามิตซูฯ 
มีหลายอย่างที่เตรียมไว้สำหรับการใช้แก๊ส นอกจากการใช้น้ำมัน
เน้นว่า รถรุ่นนี้เป็น 2 เชื้อเพลิง ใช้สลับกันใช้ได้อย่างอิสระ ทั้งเลือกโดยผู้ขับเอง หรือแก๊สหมดก็สลับกลับเป็นน้ำมัน ไม่ต้องกังวล
ว่าแก๊สหมดอย่างฉุกเฉินแล้วจะทำอย่างไร และเมื่อต้องใช้น้ำมันก็อย่าลืมว่า สามารถใช้ได้ถึง อี20 แก๊สโซฮอล์ที่ผสมแอลกอฮอล์ลงไป 20 เปอร์เซ็นต์ ซี่งมีราคาหน้าปั๊มถูกกว่าเบนซินและอี10 อยู่ไม่น้อย
แรงไหม แค่เบนซิน 2,400 ซีซี
          เพราะเครื่องดีเซลยุคใหม่มีความจุ 2,500-3,200 ซีซี พร้อมเทอร์โบ
อัดอากาศอย่างหนักหน่วง แรงม้า-แรงบิดมหาศาลกว่าเครื่องเบนซิน
รุ่นไหนๆ ย่อมต้องมีคำถามว่า ซีซี (ความจุกระบอกสูบ) น้อยกว่า แถมยังไม่มีเทอร์โบ จะวิ่งอืดไหม ถ้าต้องบรรทุกจะวิ่งออกไหม ?
          ผมไม่ได้ทดลองด้านการบรรทุก ในรุ่นเมกะแค็บที่นำมาทดสอบแต่พอจะบอกโดยประมาณได้ว่า รุ่นเมกะแค็บกับพื้นที่บรรทุกหลังกล่องครอบถังแก๊ส กว้าง 146 เซนติเมตร และยาว 121 เซนติเมตร หากบรรทุกของลงในพื้นนี้ได้และมีน้ำหนักบรรทุกของระดับครึ่งตัน รวมทั้งคนโดยสาร
ข้างในอีก เครื่องยนต์ยังพาขับเคลื่อนไปได้แบบไม่อืดอาด แซงใครๆ 
ก็พอได้ เพียงแต่ไม่ฉูดฉาดเท่านั้น
          ส่วนรุ่นตอนเดียวไม่มีแค็บ ไม่ได้ทดสอบ แต่ประมาณว่ารวมคนรวมของระดับ 1 ตันหรือเกินนั้นหน่อย ก็ไม่ต้องลุ้น เพราะน่าจะ...ไปได้ เรื่องอัตราเร่งนี้อยู่ที่ความคาดหวังตั้งแต่เริ่มต้น ซีซีเท่านี้ และพกมา 128 แรงม้า ผมแนะนำให้ดูประเภทรถ คุณสมบัติพื้นฐาน เช่น แรงม้า-แรงบิด แน่นอนว่าคงไม่แรงแบบดีเซลเทอร์โบรุ่นใหญ่ พอจะยืนยันได้ว่าไม่หวือ แต่ก็ไม่อืด เกียร์ธรรมดาถูกเลือกอัตราทดมาให้รองรับทั้งวิ่งตัวเปล่าและบรรทุกสักครึ่งถึง 1 ตัน คลัตช์ไม่แข็ง ปล่อยแล้วไม่กระโชกโอกฮาก ขับแล้วสบาย
          ระบบช่วงล่างไม่ต้องอธิบายมาก เพราะใครๆ ก็พอจะรู้ว่ารถปิกอัพมิตซูฯ ตั้งแต่ไหนแต่ไร ตั้งแต่แอล200 ไซโคลน และสตราดา ล้วนเกาะและทรงตัว...ใช้ได้ (ในสไตล์รถกระบะ)
ผมทดสอบรถตัวเปล่า หรือนั่งรวม 2 คนในบางครั้ง แต่ขับทั้งในเมืองที่แออัด และขึ้นทางด่วน ที่บอกว่าเร่งดีใช้ได้ ไม่ได้บอกเฉพาะตัวเปล่า 
แต่ผมสมมุติเผื่อไว้แล้วว่า ถ้าบรรทุกสักครึ่งตันจะวิ่งไหวไหม คำตอบคือ...
ไปไหวแหง และไม่น่าเบื่อแน่ แต่ถ้าจะบอกหวือหวาคงต้องว่าผม...โกหก ขึ้นทางด่วนขับเร็วเหมือนๆ รถเก๋งทั่วไป ไม่ได้ย่องแบบรถกระบะ
ที่บรรทุกหนัก เสียงลมมีพอประมาณ ไม่มีปัญหา การเก็บเสียงดีแบบ
รถกระบะ การทรงตัวตามที่บอกไว้แล้วว่าไม่ผิดหวังตามสไตล์ของ
สายพันธ์นี้ ไม่ต้องเกร็ง ไม่ต้องลุ้น แม้จะด้อยกว่ารถเก๋งบ้าง แต่ในกลุ่ม
รถกระบะต้องถือว่าอยู่หัวแถวในเรื่องช่วงล่าง ทั้งทางโล่งทางไม่โล่ง ผมตั้งใจไม่เลี้ยงคันเร่ง เพราะเดี๋ยวจะหาว่า MAKE อัตราการกินแก๊ส ผมเร่งรอบเกือบแตะเรดไลน์-แถบแดงเกือบสุดทุกครั้ง ที่ทางว่าง ตั้งใจครับ โล่งเมื่อไร... ลากเกียร์เมื่อนั้น เปลี่ยนเกียร์เกิน 4,000 รอบอยู่บ่อยๆ 5,000 รอบก็ไม่น้อย ผิดวิสัยคนขับรถปกติ แต่ผมตั้งใจหาความสิ้นเปลืองที่เกินจริงไปเล็กน้อย เพื่อจะเดาถึงการใช้เมื่อต้องบรรทุกน้ำหนักจริง แต่ขับปกติ ไม่เร่งหนักแบบผม
          ผมเน้นนะครับว่า ไม่ได้เร่งแบบระห่ำ แค่เปลี่ยนเกียร์แถวๆ 4,000-6,000 รอบบ่อยครั้ง เพื่อชดเชยกับการไม่ได้บรรทุก เพื่อจะประมาณว่าหากบรรทุกแล้วขับปกติ หรือใครขับรถเปล่า แต่เร่งมากหน่อย ก็น่าจะกินไม่เกินนี้ นัยว่าถ้าผลการทดสอบเท่าไร หากใช้งานจริงก็ต้องประหยัดกว่า ผลออกมากม.ละ 80 กว่าสตางค์ในเกือบ 100 กม.แรก และอีก 
100 กม.หลัง กม.ฯ ละ 90 กว่าสตางค์ งง! พอประมาณ ถ้าขับรถเปล่ากับแค่คน 2 คน กม.ละ 70-80 สตางค์ ย่อมเป็นไปได้ รถปิกอัพเครื่องยนต์ดีเซล สมมุติทำได้ดีสุดๆ 10 ต้นๆ กม./ลิตร 
กับราคาน้ำมันดีเซลลิตรละ 20 บาทปลายๆ คำนวณแล้วท่ากับกม. ละ 
2.5 บาทบวกลบนิดหน่อย ส่วนรุ่นเบนซินถ้าทำได้ 10 กม./ลิตร ก็กม. ละ 3 บาท
          เอ็นจีวีขับไม่ยั้ง ยังกินแค่ 90 สตางค์/กม. ถ้าเท้าเบาหน่อยก็ 
70-80 สตางค์ เทียบแล้วถูกกว่าใช้ดีเซลหรือเบนซิน เกินครึ่งไปไกล 
เหลือจ่ายแค่ 1 / 3 ของเดิม เคยจ่ายค่าน้ำมันเดือนละ 10,000 บาท 
ก็เติมแก๊สแค่ 3,000 กว่าบาท นำเงินส่วนต่างมาผ่อนรถได้สบาย ถ้าใครกำลังจะซื้อรถปิกอัพ แล้วเล็งว่าพื้นที่บรรทุกเพียงพอ และเร่งดีใช้ได้สำหรับตนเอง หาเหตุผลที่จะไม่ซื้อรถรุ่นนี้ได้ไหมครับ เหมือนกับแก๊สช่วยผ่อนรถ เอาส่วนต่างจากค่าน้ำมันมาผ่อนหรือใช้จ่ายอย่างอื่น โดยดำรงชีวิตและทำอย่างอื่นตามปกติ
แก๊สช่วยผ่อนรถ ผมชอบคำนี้จังแฮะ !
ความสะดวกในการเติม ปัจจุบันไม่มีปัญหา
          เอ็นจีวีมีหน่วยการขายเป็นกิโลกรัม แต่ถังแก๊สทั้งเอ็นจีวีและแอลพีจี
มีหน่วยการวัดเป็นปริมาตร เป็นลิตรถ้าบรรจุน้ำ เติมแก๊สในแต่ละครั้งรอไม่นาน ครั้งแรกเติมตอนบ่าย ช่วงเวลาที่รถแท็กซี่เพิ่งเริ่มจะส่งกะ รอคิว 2 คัน ครั้งที่ 2 ประมาณ 5 โมงเย็น เจอปั๊มใหญ่ ขับเข้าไปรอคิวจอดเรียงเป็น 2 แถว รออยู่ 3-4 คัน ก็ได้เข้าเติม ช่วงเวลาที่แก๊ส ไหลไม่นับรอและจอดหรือเสียบ-ถอดหัวจ่าย ประมาณ 2 นาที/10 กก. ถังหนึ่งจุ 10 กว่ากิโลกรัม รัศมีทำการต่อถังแล้วแต่สภาพการจราจร แต่ประมาณว่า 150 กม. บวกลบตามสภาพการจราจรและการขับที่
แตกต่าง วิ่ง 200 กม./ถัง มีลุ้นถ้าทางโล่งและไม่ขับซ่า ปั๊มเอ็นจีวีปัจจุบันนี้ก็มีมากขึ้นเรื่อยๆ ต่างจังหวัดก็มีไม่น้อย และอย่าลืมว่ารถรุ่นนี้พร้อมที่จะสลับไปใช้น้ำมันได้ถึงอี20 ด้วยปลายนิ้วสัมผัส วิธีคำนวณการใช้เชื้อเพลิง ให้เติมเต็มถังจริงๆ เซ็ตระยะทางเป็น 
0 ขับไปจนเชื้อเพลิงลดลงเกินครึ่งถังหรือเกือบหมด เติมให้เต็มอีกครั้ง อ่านระยะทางที่ใช้มา ผลให้นำระยะทาง ตั้งหารด้วยลิตรหรือกก. 
จะได้เป็น... กม.ต่อลิตร หรือกม.ต่อกก. ถ้าอยากทราบเป็น กม.ละกี่บาท ต้องกลับกันเอาบาทตั้งหารด้วยจำนวน กม.
วัดแรงม้า ลงพื้นดี ใช้แก๊สแรงตกน้อย
          ซีเอ็นจีมีค่าความร้อนน้อยกว่าเบนซินเล็กน้อย เมื่อใส่เข้าไปในค่าแลมบ์ดา (ความหนา-บางของส่วนผสมเชื้อเพลิงกับอากาศ A/F AIR/FUEL RATIO) ใครๆ ก็ร่ำลือกันในรถที่ใช้แก๊สนี้ทุกคัน แต่ก็กังขาว่าจะ
แรงตกมากจริงหรือไม่
THAIDRiVER จับขึ้นวัดแรงม้า-แรงบิด ด้วยแชชซีส์ ไดนาโมมิเตอร์ ระดับมาตรฐานที่ www.testcar.co.th แถวแยกศรีนครินทร์-พัฒนาการ
          ผลออกมา…ใช้น้ำมันแก๊สโซฮอล์ 123.5 แรงม้า แรงบิด 191 นิวตันเมตร 
(สเปคเครื่องจากโรงงาน 128 แรงม้า 194 นิวตัน-เมตร) ถือว่าสูญเสียกำลังในระบบน้อยมาก
ใช้เอ็นจีวี 109.0 แรงม้า แรงบิด 170.2 นิวตัน-เมตร แรงม้า-แรงบิด ลดลงประมาณ 10 เปอร์เซ็นต์ ลดลงก็จริง แต่ไม่ถือว่ามาก และถ้าไม่กดคันเร่งลึกหรือสุด ก็น่าจะไม่รู้สึกชัด หรือถ้าไม่บอกว่าใช้แก็สหรือน้ำมัน ให้ขับปกติก็คงไม่รู้ เมื่อดูความสิ้นเปลืองที่จ่ายแค่ 1 ใน 3 ของน้ำมัน รวมถึงมลพิษ
ที่ไม่ค่อยมีใครพูดถึงว่าน้อยกว่า กำลังของเครื่องตกแค่นี้ ต้องนับว่า
ชดเชยกันได้ดีเกินคุ้ม
MITSUBISHI TRITON CNG ให้แก๊ส...ช่วยผ่อนรถ หรือถ้าซื้อสด ก็ให้แก๊สช่วยหยอดกระปุกไปทุกวัน ซื้อรถแทบไม่แพงขึ้นจากรุ่นปกติ จำตัวเลขไว้ว่า จ่ายทุกวัน-ทุกกม.แค่ 1 ใน 3 !

วันอังคารที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2554

2010 Mazda3 Sedan Shows Off New Design, Peppy Engine


TOYOTA REVO 2.4 G 2017 Price 689,000 baht

TOYOTA REVO 2.4 G 2017 💰💰 Price 689,000 Baht 💰💰 Use car money out 10,000 installments 12,629 x 72 *** Attached wit...